Banner ทุนเรียนดี-01.jpg

Table of Contents

Shortcuts แบบฟอร์มต่างๆ

  1. แนวปฏิบัติทั่วไป
  2. ขออนุมัติงบประมาณไม่เกิน 20,000 บาทต่อครั้ง
  3. ขออนุมัติงบประมาณเกิน 20,000 บาทต่อครั้ง
  4. ขออนุมัตินำเงินคงเหลือจากค่าธรรมเนียมการศึกษา จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมผลิตบัณฑิต
  5. ขออนุมัติใช้ค่าธรรมเนียมผลิตบัณฑิต
  6. ข่าวแจ้งนักศึกษาทุนเรียนดี

ทุนอื่นๆ

ประวัติความเป็นมาของโครงการฯ

ความเป็นมา

<aside> ⚠️ ทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ได้ร่วมกับที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดทำ”แผนการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษาสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์” โดยกำหนดแนวทางและมาตรการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 และเพื่อให้มาตรการดังกล่าวบรรลุผล จึงจัดให้มีโครงการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์หลายโครงการ อาทิ โครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์ โครงการเพิ่มประสบการณ์ทางวิชาการให้แก่อาจารย์ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังได้กำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้มีปรีชาญาณให้สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2544 สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น ร่วมกับที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จึงได้นำเสนอ “โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)” ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 มีมติเห็นชอบ โดยให้ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2552 ซึ่งแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2548 กำหนดให้คณะวิทยาศาสตร์ 24 สถาบัน คัดเลือกและสนับสนุนเงินทุนการศึกาให้แก่นิสิตนักศึการะดับปริญยาตรี จำนวนปีละ 350 ทุน รวม 4 ปี และช่วงที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2552

ที่มา : คู่มือทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ ระยะ 2 พ.ศ.2552-2565

</aside>

โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) พ.ศ.2551-2565

<aside> ⚠️ โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 1 ได้สร้างฐานกำลังคนระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ โดยส่วนหนึ่งเป็นตัวป้อนเข้าสู่ระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อรองรับการสร้างงานวิจัยและพัฒนางานวิจัยในอนาคต  โครงการนี้เป็นโครงการในความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยคณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 23 แห่ง ที่มีจุดประสงค์จะแสวงหานักเรียนที่สนใจวิทยาศาสตร์และมีผลการเรียนดี เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ โดยให้ทุนลักษณะ “จ้างเรียน” ซึ่งผู้รับทุนไม่มีข้อผูกพันในการทำงานชดใช้ใดๆ แต่ต้องเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีและประสงค์จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์ในประเทศ

โครงการฯ ระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องกับระยะแรก โดยให้ทุนสนับสนุนผู้จบปริญญาตรีในโครงการระยะที่ 1 ให้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก โดยมีระยะเวลาการดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2551-2558 (รวม 8 ปี) และให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์สูงเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก อย่างต่อเนื่องในระหว่างปี 2551-2563 (รวม 13 ปี) ต่อมาในปี 2555 โครงการได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ขยายเวลาการให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่ออีก 2 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 2551-2565 (รวม 15 ปี) ผู้สำเร็จการศึกษามีภาระผูกพันในการปฏิบัติงานใช้ทุนในหน่วยงานของรัฐเป็นระยะเวลา 1 เท่า ของระยะเวลาที่รับทุนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยไม่นับรวมเวลาการรับทุนระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการสนับสนุนให้ผู้รับทุนมีโอกาสไปศึกษาและ/หรือทำวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นระยะเวลา 4-6 เดือน และระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาเอกเป็นระยะเวลา 10-12 เดือน โดยมีข้อผูกพันปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่รับทุนไปต่างประเทศ

ที่มา : คู่มือทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ ระยะ 2 พ.ศ.2552-2565

</aside>

วัตถุประสงค์

<aside> ⚠️ วัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อสรรหานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจวิทยาศาสตร์และมีผลการเรียนที่ดี เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
  2. เพื่อส่งเสริมการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพในระดับสากลเพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนชั้นมัธยมปลายเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ทุนแก่ผู้ที่จบปริญญาตรีในโครงการระยะที่ 1 และผู้ที่มีคุณสมบัติและมีศักยภาพในระดับเดียวกับศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก
  3. เพื่อดำเนินงานตามนโยบายประเทศในการสร้างบัณฑิตวิทยาศาสตร์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

ที่มา : คู่มือทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ ระยะ 2 พ.ศ.2552-2565

</aside>

เป้าหมาย

<aside> ⚠️ เป้าหมาย ดังต่อไปนี้

  1. มีจำนวนนิสิตนักศึกษาที่มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ที่เข้ารับทุนการศึกษาในโครงการตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และศึกษาต่อเนื่องจนจบปริญญาเอก ปีละ 200 คน จำนวน 4 รุ่น รวมทั้งหมด 800 คน
  2. มีจำนวนบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่จบปริญญาตรีในโครงการระยะที่ 1 และผู้ที่มีคุณสมบัติและมีศักยภาพในระดับเดียวกันเข้ารับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก และปริญญาเอกรวม 800 คน
  3. มีจำนวนผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในโครงการระยะที่ 2 ทั้งสิ้น 1,600 คน โดยมีระยะเวลาที่ดำเนินโครงการฯ รวม 15 ปี * (เดิม 13 ปี)

หมายเหตุ: * ในปี 2555 โครงการได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ขยายเวลาการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก อย่างต่อเนื่องอีก 2 ปี โดยคงจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จปริญญาเอกเท่าเดิม (1,600 คน) ในวงเงินงบประมาณเดิม ทำให้ระยะเวลาดำเนินการของโครงการระยะที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 2551-2565 (รวม 15 ปี)

ที่มา : คู่มือทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ ระยะ 2 พ.ศ.2552-2565

</aside>

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

<aside> ⚠️ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังต่อไปนี้

  1. สามารถสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนที่สนใจวิทยาศาสตร์ มีความสามารถสูง และมีผลการเรียนดีเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในสาขาที่ขาดแคลน
  2. สามารถผลิตนักวิทยาศาสตร์คุณวุฒิปริญญาเอก ที่มีความสามารถสูง เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวม 1,600 คน ภายในระยะเวลา 15 ปี
  3. บัณฑิตที่จบจากโครงการฯ มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง และพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ารวมทั้งสร้างงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
  4. สถาบันที่ร่วมโครงการฯ มีการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมตามระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานการศึกษาให้เทียบเท่าระดับสากล
  5. สถาบันที่ร่วมโครงการฯ มีการประสานงานเป็นเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมวางแผนสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ให้ตรงกับความต้องการประเทศ

ที่มา : คู่มือทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ ระยะ 2 พ.ศ.2552-2565

</aside>

การเข้าร่วมดำเนินงานโครงการฯ ของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส.

<aside> ⚠️


</aside>

Banner ทุนเรียนดี-01.jpg

ทุนการศึกษาและเงื่อนไข

ทุนการศึกษา

รายการ ปริญญาโท (2 ปี) ปริญญาเอก (3 ปี)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าหน่วยกิต ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน... 165,000 บาท/ปี 165,000 บาท/ปี
ค่าใช้จ่ายรายเดือน 86,400 บาท/ปี 105,600 บาท/ปี
ค่าหนังสืออ่านประกอบ (เหมาจ่าย) 10,000 บาท/ปี 10,000 บาท/ปี
ค่าอุปกรณ์การศึกษา (เหมาจ่าย) 18,000 บาท/ปี 18,000 บาท/ปี
ค่าสืบค้นวารสาร (เหมาจ่าย) 10,000 บาท/ปี 10,000 บาท/ปี
ค่าไปศึกษา/วิจัยต่างประเทศ (บาท/คน) ปีละ 50 ทุน โดยจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน - 8 – 12 เดือน*
1,318,000 บาท/คน**

หมายเหตุ: *ให้กับผู้รับทุนระดับปริญญาเอกที่ผ่านการคัดเลือกไปศึกษาและวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ 8 – 12 เดือน ** ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการให้ไปต่างประเทศอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี